วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ช่วงเวลากับการคิด

ช่วงเวลากับการคิด
            เด็กอายุ 8 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางการคิดและการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัวของเขา เรารู้ข้อมูลเหล่านี้จากนักจิตวิทยาโดยเฉพาะนักจิตวิทยาการเรียนรู้ ระหว่างศตวรรษที่ 20 คำถามสำคัญคือ การคิดของเด็กเล็ก ๆ แตกต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่ หรือมันเป็นการขาดประสบการณ์ของเด็กหรือไม่ สำหรับประเด็นที่ว่า เด็กเรียนรู้อย่างไร ได้ศึกษาโดยนักการศึกษา นักปรัชญา นักจิตวิทยา เช่น พาฟลอฟ ทอนไดค์ สกินเนอร์ ให้ความสำคัญในอิทธิพลของแนวทางที่เน้นการสอน (เด็กถูกสอน) ประมาณ ค.ศ.1950-1959 นักจิตวิทยาและนักการศึกษาให้ความสำคัญมากในการเรียนอย่างเข้มข้น ต้องการการเสริมแรง และเชื่อว่าหลักการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานการกระตุ้นและการตอบสนอง
ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
ที่มา: http://www.e-child-edu.com/youthcenter/content/articles/thinking-learning-of-child.html

ทักษะการคิด

ทักษะการคิด (Thinking Skill) มีอะไรบ้าง
     ทักษะการคิดในเด็กปฐมวัยหมายความว่าเด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยความสามารถ 6 ด้าน คือ
     1. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล จากข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่าและนำมาเล่าเรื่องได้ ตามที่ Piaget ได้มีการศึกษาพบว่า การคิด การพัฒนาสติปัญญาเกิดจากการที่เด็กได้รับข้อมูลใหม่ ซึ่งการนำข้อมูลมาเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์เดิมที่ตนมีอยู่ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา
     2. บอกความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ได้ สามารถบอกได้ว่าตนเองรู้อะไร หรือต้องการรู้อะไร
     3. นำข้อมูลไปใช้ และสามารถอธิบายในสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่ได้
     4. สามารถบอกจุดที่ชี้ถึงความไม่สำคัญของปัญหาที่ตนเองไม่จำเป็นต้องสนใจได้
     5. สรุปข้อมูลความรู้ที่ค้นพบใหม่ เชื่อมโยงกับความรู้เก่าอย่างเป็นระบบได้
     6. นำความคิดที่ได้มาดัดแปลงเป็นสิ่งใหม่ หรือนำความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
                การที่สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง การจำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่การคิดจะทำให้สมองทำงาน ทำให้เข้าใจเนื้อหาและความรู้ การคิดเป็น การทำงานของสมองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพียงแค่การพัฒนาและฝึกฝนสม่ำเสมอ เราจึงต้องจัดสิ่งเร้าให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น โดยการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยสิ่งแปลกใหม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ให้มากพอได้

ความเครียดกับการทำงานของสมองของเด็ก

ความเครียดกับการทำงานของสมองของเด็ก
จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

การปลูกฝังการคิดสำหรับเด็ก

การปลูกฝังการคิดสำหรับเด็ก
              การปลูกฝังให้เด็กเกิดกระบวนการคิดขึ้นในตนเองจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้เด็กตระหนักและไตร่ตรองก่อนลงมือกระทำเรื่องใดๆ แล้ว กระบวนการคิดที่ดียังส่งเสริมให้เด็กคิดต่อยอดและคิดแตกฉาน ใช้เพื่อเสริมสร้างการกระทำที่สร้างสรรค์ สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง นอกจากนี้การคิดยังสามารถพัฒนาทักษะในเรื่องการปรับตัวเมื่อเด็กต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การคิดจึงมีประโยชน์และเทียบได้กับภูมิคุ้มกันในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้เด็กสามารถที่จะเลือกสรรหาสิ่งที่เหมาะสมให้กับตนเอง ซึ่งการคิดสามารถที่จะพัฒนาและฝึกฝนได้โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก
กระบวนการคิดสามารถสร้างได้ตั้งแต่ปฐมวัย นั่นคือสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก คือ 2-7 ปี ต้องเริ่มปลูกฝังจากที่บ้าน โดยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ริเริ่มและส่งเสริมการ คิดเป็นให้แก่เด็ก ซึ่งเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนที่โรงเรียน ครูจะเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กมีกระบวนการคิดที่เชื่อมโยงและมีเหตุมีผล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสามารถประเมินค่าได้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ทำให้เด็กคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นการคิดที่ซับซ้อนและเป็นพื้นฐานการคิดขั้นสูงต่อไป
ที่มา: http://www.healthtoday.net/thailand/scoop/scoop_92.html

การคิดและการเรียนรู้

       การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการฝึกฝน เช่นเดียวกับการป้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปในสมองเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น แต่การฝึกสมองให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ใช่เรื่องของการจำอย่างเดียว เพราะถึงแม้การจำจะเป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ แต่ก็เป็นเพียงขั้นพื้นฐานของสมองที่จะต้องมีการจำความรู้เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป
ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ